มรดกโลก (ภาษา อังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป
ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
ลำดับประเทศ / รวม
- อิตาลี / 41
- สเปน / 40
- จีน / 35
- เยอรมนี / 32
- ฝรั่งเศส / 31
- สหราชอาณาจักร / 27
- อินเดีย / 27
- เม็กซิโก / 27
- รัสเซีย / 23
- สหรัฐอเมริกา / 20
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมาย ถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมาย ถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย
ของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
มรดกโลก 2011
1.แหล่งโบราณคดีของเกาะ Moroe ที่ประเทศซูดาน2.ป้อมปราการของราชวงศ์โฮที่สร้างขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 ของเวียดนาม
3.พื้นที่ปลูกกาแฟภูมิทัศน์ของโคลอมเบีย
4.ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana ในสเปน
5.แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
6.อาคารโรงงาน Fagus ที่เมือง Alfeld ในเยอรมนี
7.สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษช่วงศตวรรษที่18-19ที่หมู่เกาะบาร์เบโดส 8.Longobards ประเทศอิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มอาคารที่สร้างระหว่างปี 568-774 ก่อนคริสตกาล 9.เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์
10.ระบบนิเวศวิทยา ที่ Saloum Delta ประเทศเซเนกัล
11.สวนเปอร์เซียของอิหร่าน
12.ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว ประเทศจีน
13.วัด Hiraizumi ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวัดตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ (Buddhist Pure Land)
14.Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในเอธิโอเปีย
15.ป้อมปืนเจซัสที่มอมบาซาในเคนยา
16.มัสยิด Selimiye Edirne และหมู่อาคารของมัสยิดในตุรกี
17.ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมที่มองโกเลีย อัลไต ในเขตมองโกลเลีย
18.ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในฝรั่งเศส
19.มหาวิหาร Leon Cathedral สถาปัตยกรรมที่แสดงการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะบาร็อกมาเป็นนีโอคลาสสิกใน นิการากัว
20.อาคารบูโควีเนียน แอนด์ ดัลมาเทีย สถาปัตยกรรมสไตล์เช็กที่ยูเครน และ
21.หมู่บ้านแบบโบราณทางตอนเหนือของประเทศซีเรีย
มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ได้แก่
1.แนวปะการัง Ningaloo Coast ริมทะเลเขตรัฐออสเตรเลียตะวันตก มีพื้นที่ 604,500 เฮกตาร์ ได้ชื่อว่าเป็นเขตแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก และเป็นเขตที่มีสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์อย่างเต่าทะเลบางชนิดอาศัยอยู่จำนวน มาก ทั้งยังเป็นเขตที่มีถ้ำใต้ทะเล เหมาะสำหรับศึกษาชีวิตของสัตว์และพืชในทะเลอีกแห่งหนึ่งของออสเตรเลียนอก เหนือจากแนวปะการังเกรท แบริเออร์รีฟ ทางตะวันออก
2.หมู่เกาะ Ogasawara ในญี่ปุ่น มีพื้นที่รวม 7,393 เฮกตาร์ มีจำนวนมากกว่า 30 เกาะ เป็นแหล่งรวมสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น Bonin Flying Fox เป็นค้างคาวพันธุ์หายาก และนกอีก 195 ชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชหายากที่ปลูกได้ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงเหนือด้วย
3.ทะเลสาบเคนยา (Kenya Lake System) อยู่ในเขตหุบเขาเกรท ริฟท์ ของประเทศเคนยา เป็นเขตที่รวมทะเลสาบ 3 แห่งไว้ด้วยกันคือ โบโกเรีย, นากูรู และอีเลเมนทัยทา มีพื้นที่รวม 32,034 เฮกตาร์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์นกที่อาศัยอยู่ใกล้น้ำจำนวนมาก เช่น นกฟลามิงโก และนกพีลีแกนขาว
นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแรดสีดำ ยีราฟ และสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของเคนยา จึงเป็นเขตที่เหมาะสำหรับการศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
มรดกโลกแบบผสม มี 1 แห่งคือ ทะเลทราย Wadi Rum พื้นที่คุ้มครองของประเทศจอร์แดน มีพื้นที่ 74,000 เฮกตาร์
สาเหตุที่เป็นมรดกโลกแบบผสมเพราะเป็นการผสมผสานระหว่างมรดกโลกทางธรรมชาติ กับมรดกโลกทางวัฒนธรรม
Wadi Rum อยู่ทางตอนใต้ของจอร์แดน ติดกับพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ทะเลทรายแห่งนี้มีสภาพภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งหน้าผาที่สูงชัน และมีแหล่งโบราณคดี เนื่องจากเป็นเส้นทางการเดินทางของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายมานับพันปี และมีการค้นพบหลักฐานการใช้ชีวิตของชนพื้นเมืองในถ้ำในเขตทะเลทรายหลายแห่ง
ปีนี้ยูเนสโกได้ขยายพื้นที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่งคือ ป่าต้นบีช (Beech) ในเยอรมนี, สโลวาเกีย และยูเครน หลังจากเมื่อปี 2007 ได้ขึ้นทะเบียนป่าต้นบีชในเขต 2 ประเทศคือ ยูเครนและสโลวาเกีย มีพื้นที่รวม 29,278 เฮกตาร์ แต่ปีนี้เพิ่มพื้นที่ในเยอรมนีเข้าไปอีก 4,391 เฮกตาร์ จึงมีการขนานนามใหม่ว่า Primeval Beech Forests of the Carpathians and the Ancient Beech Forests of Germany
สำหรับรายงานของยูเนสโกในปี 2011 ได้ขึ้นบัญชีดำมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย 2 แห่งคือ ป่าฝนในเขตร้อนชื้นของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย และพื้นที่ลุ่มน้ำริโอในฮอนดูรัส
ไทยประกาศลาออกจากภาคีสมาชิกมรดกโลก
เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัด แย้งมากยิ่งขึ้น
นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพัน ต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการ มรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้
ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัด แย้งมากยิ่งขึ้น
นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพัน ต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการ มรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น