วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง จะว่าด้วย สิทธิ หน้าที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
กฎหมายอาญา จะว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ที่มีการบัญญัติความผิดที่ห้ามกระทำไว้ โดยส่วนใหญ่ต้องรับโทษในฐานความผิดที่ได้กระทำนั้น

วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

กฎหมายแพ่ง จะรักษาความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือ ระหว่างรัฐกับเอกชนในกรณีที่รัฐมีสิทธิในฐานะเอกชน
กฎหมายอาญา มีไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ผู้ใดละเมิดกฎหมายอาญา ถือได้ว่าละเมิดต่อรัฐโดยตรง

การตีความกฎหมาย

กฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้น ปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น – ซึ่งหมายถึง ถ้าไม่มีกฎหมายใดๆที่บัญญัติไว้ สามารถใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาวินิจฉัยตามประเพณีท้องถิ่น หรือ ที่ได้ทำสืบต่อกันมาได้
กฎหมายอาญา จะต้องตีความอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษรที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ไม่สามารถขยายความไปถึงฐานความผิดที่เทียบเคียงกันได้ โดย กฎหมายอาญา ไม่มีผลย้อนหลัง และ จะไม่มีความผิด ถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติความผิดไว้ ไม่มีโทษ ถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษไว้

สภาพบังคับ

กฎหมายแพ่ง ถ้ามีการล่วงละเมิดทางแพ่ง จะต้องชดใช้คืนเจ้าหนี้ หรือถ้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือไม่สามารถใช้หนี้ได้ ศาลอาจจะสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ ถูกกังขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษา
กฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และ ริบทรัพย์สิน

กฎหมายหลักที่ใช้ในการปกครองประเทศ

 กฏหมายรัฐธรรมนูญ
      กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ถ้ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้ เมื่อกล่าวถึงรัฐ ธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
      รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย  คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจาก นี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนอย่างเสมอภาคกัน


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
      พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534- ปัจจุบัน   มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534  แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบัน
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้    ให้ จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 
      1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 
      2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 
      3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

      การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัด  การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.  ให้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้   
      - การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.
      - การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้
      - สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรี
      สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนัก นายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายกเลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง
      เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์
ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบการปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคน
เมื่อ มีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่ง อื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อนายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกได้
      การรักษาราชการแทน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าของเรื่องไม่อยู่และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศ
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนดกรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรี
      การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจ

      การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอ
การตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลใน จังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่
     การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.
คณะ กรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการ
การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชา
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจ
 
      การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาล
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.
เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือน
กรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วัน
สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ
พรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี


 ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย

1 ปัญหาการตีความ
2 สภาพการบังคับใช้
3 การถือปฏิบัติ
4 การวิเคราะห์

ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย

1 เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเปรียบต่อผู้อื่น
2 มีความรู้ด้านกฎหมาย
3 ไม่เสียรู้คนที่ดหนือกว่า